วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2555

2-5 กุมภาพันธ์ 2555

ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี


ศ. ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าสองรางวัลใหญ่จากสภาวิจัยแห่งชาติ
 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 และรางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2554





       ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มีการมติอนุมัติรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี 2554 ซึ่งในครั้งนี้ ศ. ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์  สามารถคว้าสองรางวัลใหญ่จากสภาวิจัยแห่งชาติคือ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 และรางวัลผลงานวิจัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยประจำปี 2554 เรื่อง  “Numerical Simulation of Electric field and Temperature Distribution in Human Body Exposed to Leakage Electromagnetic Field” โดยมีนักวิจัยร่วม คือ ดร. ธีรพจน์ เวศพันธุ์ และนาย ศิรเมศร์ ศรีสวัสดิสุกุล จากหน่วยวิจัย RCME. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
      ในการนี้ ศ. ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ได้กราบทูลถวายรายงานผลงานวิจัยแด่ สมพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่เสด็จพระราชดำเนิน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี  ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 อีกด้วย
      โดยความโดดเด่นของ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ที่คณะกรรมการพิจารณารางวัลเห็นร่วมกันในการให้รางวัลครั้งนี้คือ การมีผลการวิจัยอย่างต่อเนื่องและมีการวิจัยบูรณาการที่ครบวงจร กล่าวคือ โดยในส่วนของงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ผ่านกระบวนการทางโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ชั้นสูงควบคู่ระเบียบวิธีการคำนวณเชิงตัวเลขชั้นสูงที่.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช พัฒนาขึ้นมาเอง โดยผู้วิจัยได้มุ่งเป้าในเชิงวิชาการ (Academic Side) และสร้างผลงานคุณภาพบ่งบอกถึงการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มี Impact Factor และมีค่า H-Index ที่สูง ในส่วนของงานวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ได้ต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน  เพื่อมุ่งเป้าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ  และงานวิจัยอุตสาหกรรม (Industry Research) โดยเป็นการนำองค์ความรู้มาต่อยอดเป็น รูปแบบกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาต่อเนื่องให้อยู่ในรูป Pilot Scale และ Commercial Scale ซึ่งเป็นภาคส่วนสุดท้ายของงานวิจัยที่ครบวงจร  ซึ่งในส่วนนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องต้นแบบทั้งในระดับ Pilot Scale และ Commercial Scale ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้และสามารถนำไปใช้งานได้จริง



       ผลงานวิจัยที่ผ่านมาของ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช โดยเฉพาะในศาสตร์ด้าน Modern Computational Techniques, Computational Heat and Mass Transfer in Unsaturated Porous Media, Biomechanics และศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในกระบวนการทางความร้อน เชิงวิศวกรรมและเชิงการแพทย์ ได้เป็นที่ยอมรับและเป็นต้นแบบในเวทีวิจัยนานาชาติ  ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช มีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติที่มีมาตรฐานสูง มากกว่า 80 รายการ และผลงานนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติมากกว่า 80 รายการ มีผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ยื่นจดสิทธิบัตรแล้วกว่า 12 รายการ นอกจากนี้ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ ของ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ยังได้รับการอ้างอิง (Citation) มากกว่า 180 รายการ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ได้มีความร่วมมือวิจัยกับ ศาสตราจารย์วิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่ง อาทิ University of California, Riverside, USA., Cornell University, USA, Cambridge University, UK. และ Nagaoka University of Technology, Japan เป็นต้น
        สำหรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาตินั้นจะมอบให้แก่นักวิจัยซึ่งได้อุทิศตนให้กับการวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง ในกลุ่มวิชาการ หรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมกันมาเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ทั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้ ในอันที่จะทุ่มเทกำลังใจ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งนี้รางวัลที่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจะได้รับ ประกอบด้วย เงินรางวัลมูลค่า 500,000 บาท เหรียญนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ
       โดยในอดีตมีผู้ที่เคยได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาตินี้อาทิเช่น ศ.ดร. อาณัติ อาภาภิรม (AIT)  ศ.ดร. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย (AIT)   ศ.ดร. วัลลภ สุระกำพลธร (ลาดกระบัง) และ ศ.ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม (จุฬาฯ) เป็นต้น


         ประวัติและผลงาน ศ
. ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

            ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การเมืองและการปกครองสำหรับผู้บริหาร)  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2549)
  •  Post  Doctoral  Fellow, Chem. Eng. and Material Sci., University of Minnesota Twin Cities, USA (2546)
  • Ph.D (Mechanical Engineering), Nagaoka University of Technology, Japan  (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) (2545)

             ประวัติการทำงานด้านวิชาการ

  •   ศาสตราจารย์ระดับ 10 (2552)
  •   รองศาสตราจารย์ วิธีพิเศษ (2549)
  •   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (2547)
  •   วุฒิเมธีวิจัย สกว.  2550  และ 2552 และรับทุนวิจัยอุตสาหกรรม สกว. 2550  และ 2552
  •   เมธีวิจัย สกว.  2547 และ 2549
  •   เป็น Committee และ Chair สำหรับการประชุมนานาชาติและระดับชาติมากกว่า 20 รายการ
  •   เป็น Reviewer  ประจำวารสารวิจัยระดับนานาชาติ มากกว่า 100 รายการ
  •   ผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาเอก ภายใต้ทุนปริญญาเอก กาญจนาภิเษก (คปก.) และทุน สกอ.   สำเร็จการศึกษาแล้วรวม 8 คน

  

รางวัลวิชาการ

  •  รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ  (วช.) ประจำปี  2554
  •  รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์โลก (SIIF 2011) รางวัลเหรียญทอง (2 เหรียญทอง) ณ กรุงโซล   สาธารณรัฐเกาหลี
  •  กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2553)
  •  รางวัลผลงานวิจัยระดับ Outstanding ของฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
     ประจำปี 2553
  •  รางวัล Outstanding Reviewer, Talor&Francis Press 2010
  •  รางวัลผลงานวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ  (วช.) ประจำปี  2549 2550 และ 2554
  •  รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น สภาวิจัยแห่งชาติ  (วช.) ประจำปี  2548 2549 2550 2551 2552 และ  2554
  •  รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขา Thermal System and Fluid Mechanics   การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ประจำปี 2553
  •  รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์โลก (SIIF 2006) รางวัลเหรียญเงิน ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
  •  รางวัลผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2549 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
  •  รางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ระดับดีเยี่ยม ประจำปี 2546 สาขา  วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  •  โล่รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น วันนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8 ครั้ง (2546-2553)
      (ข้อมูลจาก: ส่วนวิจัยเกียรติคุณ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.))


 


Welcome to NRCT 2012 Gallery

NRCT VDO CLIP


หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (12120)
โทร. 02 5643001-9 ต่อ 3153
e-mail : ratphadu@engr.tu.ac.th